E-Portfolio Subject to the Science Experience Management for Early Childhood Semester 1/2557

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558




สรุปงานวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

งานวิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    การศึกษาระดับ ...  มหาบัณฑิต


ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย

ประเด็นที่1      วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้  (Knowledge basedsociety) คนทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์
ประเด็นที่3     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ
ประเด็นที่4     เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่า ทุกอย่างมีชีวิต(animism) มีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivism) และชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า ทำไม
ประเด็นที่5     การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส (Sensory Motor) เป็นหลักการเรียนรู้(Piaget. 1969) สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์ 
ประเด็นที่6     แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์ โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย
              ตัวเเปรอิสระ/ตัวเเปรต้น คือ  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
ตัวเเปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้เเก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
            1. สังเกต
            2. จำเเนกประเภท
            3. สื่อสาร
            4. การลงความเห็น

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.   เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
3.4  การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของรศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้

ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน

ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน

ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ

5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้   (Brain - Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา

สมมุติฐานการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

ประชากร  ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2

วิธีดำเนินการวิจัย

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain -
Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 10สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์   วันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลา 08.00 - 11.30 น. ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10 ระยะเวลาในการประเมินจากเด็กจำนวน 15 คน ใช้เวลาในการทำแบบประเมินคนละ 5 ข้อ ข้อละ 2 นาที รวม10 นาที ต่อเด็ก 1 คน การประเมินในแต่ละวันให้เด็กทำตามการจำแนกรายด้านดังนี้
วันจันทร์ ชุดที่ 1 การสังเกต 5 ข้อ
วันอังคาร ชุดที่ 2 การจำแนกประเภท 5 ข้อ
วันพุธ ชุดที่ 3 การสื่อสาร 5 ข้อ
วันศุกร์ ชุดที่ 4 การลงความเห็น 5 ข้อ

สำหรับระยะเวลาในการทดลองใช้ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.00 - 09.30 น.
โดยมีขั้น ตอนดังนี้
1.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2.ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 4 วัน และบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นคะแนนข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 1
3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ในระยะเวลาระหว่าง 09.00 - 09.30 น. ของวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2550 

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและจำแนกรายทักษะ โดยใช้ค่าแจกแจง แบบ Dependent Samples

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 117) ดังนี้
2. หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก
3. การหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ - ไบซีเรียล (Point biserial correlation)
4.  หาค่าความเชื่อมัน่ ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson)

สรุปผลการวิจัย
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ

         วิธีการเลือกชุดแบบฝึกทักษะ ควรพิจารณารูปภาพประกอบที่ดูเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นภาพขนาดใหญ่ และภาพในหน้าด้านซ้ายกับด้านขวาของชุดแบบฝึกทักษะ ไม่ควรเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งมีคำชี้แจงหรือคำสั่งที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กสับสน เนื่องจากเด็กวัย 4 - 5 ปีบางคน ยังไม่รู้จักตัวเลขที่ระบุอยู่บนหน้ากระดาษของแบบฝึกทักษะ









สรุป  บทความ

  สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพัฒนาเด็กได้มากกว่าที่คิด
  โดย: ดร. สิทธิพร เอี่ยมเสน     รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

       ในตอนวัยเด็ก นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน และช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ แล้ว พวกเราเด็กๆ ก็มักจะมีเวลาว่างมากเพียงพอที่จะสำรวจธรรมชาติที่อยู่รอบๆ บ้าน หรือบริเวณหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าหญ้าคา และ อื่นๆ เราสนุกสนานกับการที่ได้ปีนป่ายต้นไม้ใหญ่ นั่งเล่นอยู่บนต้นไม้นั้นเป็นเวลานานๆ ได้เห็นความเป็นอยู่ของเหล่านกใหญ่น้อยทั้งหลาย ที่อาศัยกิ่งก้านสาขาของไม้ใหญ่นี้เป็นที่กำบังจากภัยต่างๆ บ้างก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่นี้ หลายครั้งที่พวกเราก็แกล้งมัน พอพวกเราส่งเสียงดัง หรือขว้างปาวัตถุเข้าไปใส่ต้นไม้ ฝูงนกก็แตกฮือบินหนีไปคนละทิศคนละทางด้วยความตกใจ แต่พวกเรากลับหัวเราะอย่างสนุกสนาน บางครั้งเราก็ปีนต้นไม้เพื่อที่จะไปให้ถึงรังของนก เราอยากจะเห็นบ้านที่อยู่ของนก อยากจะเห็นไข่ หรือลูกเล็กๆ ของมัน ในขณะที่เราใกล้จะถึง เราจะได้ยินเสียงพ่อ แม่ของลูกนกส่งเสียงร้องอย่างดัง ราวกับจะบอกให้เรารู้ว่า อย่าเข้าใกล้หรือทำอันตรายสิ่งที่เขารักและห่วงแหนมากที่สุด 

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้ประโยชน์อย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก

         ธรรมชาติล้อมรอบตัวเด็กนั้น จัดได้ว่าเป็นการขยายห้องเรียนให้กับนักเรียนของเรา นักเรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสในทุกๆ ด้าน และครอบคลุมทุกๆ แขนงของหลักสูตร ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็ก ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ล้วนเป็นบทเรียนและแบบฝึกหัดที่มีประโยชน์โดยตรงต่อทั้งตัวเด็ก และครูผู้สอน  เด็กนักเรียนในระดับปฐมวัยสามารถใช้เวลานอกห้องเรียนในการเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียนและชุมชน ได้ถึง ๑ ใน ๔ ของเวลาที่ต้องใช้ที่โรงเรียน นอกจากนักเรียนจะได้ความรู้จากหลากหลายกิจกรรมที่ครูสามารถให้นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมแล้ว กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้สึกรัก รับผิดชอบและเป็นเจ้าของธรรมชาตินั้นๆ เป็นการพัฒนาในระดับปัจเจกบุคคล ที่มีผลต่อการพัฒนาในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับโลก ต่อไป และยังส่งผลในเรื่องสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนอีกด้วย เด็กได้พัฒนาและเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีพของตนเองไปตลอดชีวิต (Life-Long Skills) เช่น การปลูกและทำนุบำรุงรักษาต้นไม้ การปลูกดอกไม้ ผัก และผลไม้ต่าง ๆ เด็กได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ใช้ภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่ม พัฒนาความเชื่อมั่น และความศรัทธาในตนเอง

เกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ๆ ในทุกวันนี้

        ในอดีตเด็กๆ เคยได้รับความสุขสนุกสนานกับการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสกับธรรมชาติมากกว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินบนทางเดินเท้า ถนนหนทาง พื้นที่ว่าง สวนสาธารณะ ทุ่งนา ป่าเขา ลำธาร พวกเขาเคยได้สำรวจ เคยเล่น และสัมผัสกับโลกธรรมชาติ โดยปราศจากข้อห้ามหรือการตรวจสอบใดๆ หรือจะมีบ้างก็เพียงเล็กน้อย แต่เด็กๆ ในปัจจุบัน แทบจะไม่มีโอกาสเช่นนั้นเลย โดยเฉพาะเด็กๆ ในชุมชนเมือง การเล่นกับธรรมชาติอย่างเสรี จะมีแต่ข้อห้าม หรือมีโอกาสก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขอบเขตการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถูกจำกัดและลดลง

เราจะช่วยเด็กกันได้อย่างไร

        เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้าน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เราก็ควรที่จะดำเนินการใดๆ ที่ จะก่อให้เกิดผลดังกล่าว ในต่างประเทศ มีองค์กรเครือข่ายที่ใช้ชื่อว่า The Children & Nature Network (C&NN) ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับธรรมชาติ ให้ข้อมูล ข่าวสารและรายงานผลการวิจัย เพื่อกระตุ้นและสนับสนุน พร้อมทั้งเป็นเครือข่าย ให้ประชาชนและองค์กรต่างๆ พัฒนากิจกรรมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ นอกจากนั้น ยังได้ทำงานร่วมกับนักวิจัย นักการศึกษา และองค์กรอื่นๆ ที่อุทิศตนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ที่มา : http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research6.php 







  สรุป  ความรู้จากโทรทัศน์ครู

           
           เรื่อง "กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก"
           โดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร

           กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง โดยของเล่นที่ครูประดิษฐ์เป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ ดู มีดังนี้


ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ


           โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น


ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ  

โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
         
            โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น

ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์  


             ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้


ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ 


             โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง เเละลองสาธิตเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการเคลื่อนย้ายไปเรื่อย เช่น กระเป๋า โต๊ะ เก้าอี้



ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=n03IpV809r4




บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 15

                                                       บันทึกอนุทิน

           วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

        วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


              วันนี้จัดหมวดหมู่ของเล่นวิทยาศาสตร์  โดยสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันจัดอยู่ในหมวดหมู่โมเดลจำลอง




ภาพของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ




การทำหวานเย็น


วิธีการทำ

ขั้นที่ 1.นำน้ำหวานผสมกับน้ำเปล่า


ขั้นที่ 2 นำน้ำหวานที่ผสมกับน้ำแล้วใส่ถุงขนาดเล็ก



ขั้นที่ 3 นำหนังยางรัดปากถุงให้แน่น


ขั้นที่ 4 นำถุงน้ำหวานใส่หม้อ ตามด้วยเกล็ดน้ำแข็งและเกลือ จากนั้นปิดฝาหม้อแล้วหมุนไปมา





ขั้นที่ 5 จากน้ำหวานที่เป็นของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเเข็ง




การแข็งตัว (Fleezing) คือการที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก         

       กระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็ง   นั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน                                                                                  
                                                                                                                      
เทคนิคการสอน
    อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการปฏิบัติจริง ให้นักศึกษาทดลองด้วยตนเอง ฝึกการสังเกต และการวิเคราะห์ ซึ่งการทดลองเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ในการเรียนการสอนในอนาคต การนำไปสอนเด็ก นำไปเป็นการประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม หรือทำทานเล่นกันภายในครอบครัว เพราะกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่าย ไม่สิ้นเปลือง

ประเมินตนเอง   วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาได้ทำอย่างเต็มที่ 

ประเมินเพื่อน    เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนอสื่อของตนและรายงานงานวิจัยของตนเองได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์    อาจารย์มีการทดลองต่างๆมาให้นักศึกษาได้ปฏิบัติทดลองทุกสัปดาห์ซึ่งเป็นการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การลงมือปฏิบัติจริง อาจารย์พูดจาสุภาพ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

                                                         ภาพรวมของกิจกรรมนี้




บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 14

                                                       บันทึกอนุทิน

        วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

      วันที่  18  พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


        วันนี้อาจารย์ได้สอนให้ทำขนมวาฟเฟิล โดยมีส่วนประกอบเเละอุปกรณ์ ดังนี้







 ส่วนประกอบ (Ingredient)
  •    แป้งวาฟเฟิล
  •    เนยจืด
  •    เนยเค็ม
  •    นม
  •    ไข่
  •    น้ำต้มสุก
 อุปกรณ์ (Equipment)
  •    เครื่องทำวาฟเฟิล
  •    ถ้วยตวง
  •    ที่ตีแป้ง
  •    ถ้วยใบเล็ก
 วิธีการทำ  (How to do)
   -  เทนมใส่แป้งที่เตรียมไว้
   -  ตีแป้งกับนมให้เข้ากัน
   -  แป้งกับนมเข้ากันดีแล้ว  นำไข่ที่เตรียมไว้เทลงไป
   -  ผสมน้ำเล็กน้อยพอปนะมาณ  ไม่ให้เหลวเกินไป
   -  ใส่เนยจืดที่ตัดเตรียมไว้
   -  เมื่อผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันดีแล้ว  ตักใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้
   -  นำเนยเค็มมาทาลงบนเตาวาฟเฟิล
   -  เมื่อเครื่องร้อนเทแป้งวาฟเฟิลที่ผสมเสร็จแล้วลงไป
   -  ทิ้งไว้  3-4  นาที  เป็นอันเรียบร้อย



ศัพท์ภาษอังกฤษ
Ingredient  --->  ส่วนประกอบ
Waffles      --->  ขนมวาฟเฟิล
Equipment --->  อุปกรณ์
How to do  --->  วิธีการทำ

เทคนิคการสอน
อาจารย์จะสอนแบบการที่นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เปรียบกับว่านักศึกษาเป็นเด็กๆที่พร้อมจะเรียนรู้ขั้นตอนการทำ Cooking อาจารย์ก็เตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเพื่อให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความพร้อมที่จะสอนเด็กปฐมวัยควรเป็นไปอย่างไร สิ่งไหนเหมาะ ไม่เหมาะกับเด็กการอธิบาย การสาธิตต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้
นำขั้นตอนการเรียนการสอนในวันนี้ ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคต


ประเมินตนเอง  วันนี้นำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียนไม่ผ่านอาจารย์ได้ให้คำำแนะนำในการสอนและการเขียนแผน และการทำ cooking ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นที่ตื่นตาให้กับดิฉันและเพื่อนๆในชั้นเรียนมาก

ประเมินเพื่อน
 เพื่อนแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมขนมวาฟเฟลมาก

ประเมินอาจารย์
 อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาทุกครั้ง


วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 13

                                                       บันทึกอนุทิน

         วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

      วันที่  11  พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103



     
ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
     
             นำเสนอแผนการสอนของกลุ่ม ดังนี้

                                               หน่วยส้ม



หน่วยมด



หน่วยดิน



หน่วยทุเรียน



หน่วยสับปะรด



หน่วยน้ำ


   กิจกรรมที่ 2 การทำไข่ทาโกยากิ

ส่วนผสม
  • ไข่
  • ข้าว
  • ปูอัด
  • เเครอต
  • ผักชี ต้นหอม
  • ซีอิ้วขาว



อุปกรณ์
  • เครื่องทำทาโกยากิ
  • ช้อน ส้อม
  • มีด
  • ถ้วย
  • กรรไกร
  • กระดาษ
  • ผ้า



วิธีการทำ
  1. ตีไข่ 1ลูก
  2. ใส่ผัก ปูอัด แครรอท หัวหอม ข้าว
  3. ใช้ส้อมตีให้เข้ากัน
  4. นำไข่ไปใส่หลุมกระทะร้อน
  5. รอเวลาพลิกไข่ ไข่จะสุกครึ่งนึง
  6. เมื่อพลิกจนสุกนำไข่ใส่ถ้วยที่มีกระดาษรอง

เทคนิคการสอน
          อาจารย์เน้นการสอนที่ตรงกับวัตถุประสงค์ จะย้ำนักศึกษาถึงประเด็นสำคัญเพื่อให้นักศึกษาจำและนำไปใช้ได้ถูกต้องให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด และอาจารย์จะนำรูปแบบการสอนแแบบถูกต้องมาสาธิตให้นักศึกษาสังเกตดูและจดจำในการสอนเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมากมาย เป็นตัวอย่างการสอนที่ดี จากการที่อาจารย์ได้สาธิตให้ดูทั้งรูปแบบการสอน เทคนิคการพูด อุปกรณ์ในการสอน



ประเมินตนเอง    ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ 

ประเมินเพื่อน      เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ

ประเมินครูผู้สอน  ครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  และนำกิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำ





ภาพรวมการทำกิจกรรม