E-Portfolio Subject to the Science Experience Management for Early Childhood Semester 1/2557

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4





                                
                                                      บันทึกอนุทิน

            วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                           
                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

          วันที่ 9 กันยายน 2557   ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20น.  กลุ่ม 103

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

ทักษะการสังเกต


การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป

การสังเกตโดยใช้ตา 


ในการสังเกตโดยใชสายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆ สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยขั้นแรกให้ดูสิ่งที่เด็กพบ เห็นอยู่ทุกวัน อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน


การสังเกตโดยใช้หู 


นอกจากความสามารถในการจำแนกเสียงจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือ เสียงสัตว์ต่าง ๆ ครูอาจใช้วิธีอัดเสียงนกในท้องถิ่น เสียงกบร้อง เสียง จักจั่น ฯลฯ แล้วเปิดเทปให้เด็กทายว่าเป็นเสียงสัตว์อะไรที่เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่าง ของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเกี่ยวกับลักษณะและความเป็น อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ ได้ และช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะสังเกตและศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมมากขึ้นสำหรับการฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว 


การสังเกตโดยใช้จมูก 


กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพื่อให้รู้จักจำแนกได้ ละเอียดขึ้น ในขั้นแรกให้นำของต่าง ๆ ที่จะให้เด็กดมใส่ขวดเอากระดาษปิดขวดรอบนอก เพื่อไม่ให้เห็นสิ่งของ ให้เด็กดมแล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร


การสังเกตโดยใช้ลิ้น 


การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเด็กไปพบเห็นสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะได้ไม่เอาเข้าปาก การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จัก ความแตกต่างของรส และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น


การสังเกตโดยใช้การสัมผัส 
การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป กิจกรรมอาจเริ่มโดยเอาวัตถุหลายอย่างใส่ถุง ให้เด็กปิดตาเอมมือหยิบสิ่งของขึ้นมา แล้ว ให้บอกว่าสิ่งที่คลำมีลักษณะอย่างไร

ทักษะการจำแนกประเภท
การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยวีธีการจำแนกประเภท ครูจะต้องพยายามจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กได้เล่น เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยู่เสมอ กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย ๆ ลักษณะให้ได้มากที่สุดที่เด็กจะทำได้ และหลังจากที่เด็กจำแนกประเภทได้แล้ว ควรให้เด็กอภิปรายเหตุผลที่เขาได้จำแนกตามประเภทเช่นนั้น

ทักษะการวัด
การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ

ทักษะการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 
การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย 

ทักษะการคำนวณ


การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ



*ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก 

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
  • ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
  • พัฒนาวิธีการคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์
  • พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
  • เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้เเก่เด็ก
  • สร้างความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง 
  • ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  
  • ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน
คำศัพท์
  • การเปลี่ยนแปลง ( Changes )
  • ความแตกต่าง ( Difference )
  • การปรับตัว ( Adapting )
  • การพึ่งพาอาศัย ( Dependence )
  • ความสมดุล ( Equilibrium )
  • การสังเกต (Observation)
  • การจำแนกประภท (Classifying)
  • เกณฑ์ (Criteria)
  • ความเหมือน (Similarities)
  • ความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships)
  • การวัด (Measurement) 
  • การสื่อความหมาย (Communication) 
  • การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
สรุป




บทความสัปดาห์นี้
เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิต วิทย์จากเสียงดนตรี : บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อย
โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 
ดูรายละเอียด>> http://www.ryt9.com/s/prg/1113907
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย   โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 
เรื่อง สุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์   โดย สสวท.
เรื่อง ทำยังไงให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์  โดย เชิญตะวัน  สุวรรณพานิช
ดูรายละเอียด>> http://th.theasianparent.com/
เรื่อง วิทย์คณิตสำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ  โดย สสวท.

ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ครูสอน

ประเมินเพื่อน   เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน เเต่งกายเรียบร้อย

ประเมินผู้สอน  แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา ใช้เทคนิคการสอนเเบบใช้คำถามโต้ตอบเพื่อให้ผู้เรียนช่วยกันระดมความคิดและกระตุ้นการคิดของผู้เรียน





วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 3 

                                               
                                            บันทึกอนุทิน


            วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                           
                      อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

            วันที่ 2 กันยายน  2557   ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30 - 12.20  กลุ่ม 103

ความรู้ที่ได้รับ


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย


  • พอใจคนที่ตามใจ
  • มีช่วงความจำสั้น
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง
  • ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
  • ช่วยตนเองได้
  • ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  • พูดประโยคยาวขึ้น
  • ร้องเพลงง่ายๆทและแสดงท่าทางเลี้ยนแบบ

การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เฟลอเบล = การเรียนรู้ผ่านการเล่น




  • คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้


เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·        รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·        เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·        ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·        วาดและระบายสีอิสระได้







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·        ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·        กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง



พัฒนาการด้านสังคม
·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·        เล่นสมมติได้
·        รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·        รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·        กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·        เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ชอบท้าทายผู้ใหญ่
·        ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ


พัฒนาการด้านสังคม
·        แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·        เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
·        แบ่งของให้คนอื่น
·        เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·        รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
·        เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
·        ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·        ยืดตัว  คล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·        ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง


ฒนาการด้านสังคม
·        ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·        เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·        พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
·        รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
·        รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·        รู้จักใช้คำถาม อะไร
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้


  • สรุปความรู้



ประเมินตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน จดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้

ประเมินเพื่อน     เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย มีคุยบ้าง

ประเมินผู้สอน    แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกล้าเเสดงออก กระตุ้นผู้เรียนโดยการใช้คำถามในการคิดวิเคราะห์


  


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2



                                
                                                      บันทึกอนุทิน

           วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                           
                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

          วันที่ 26 สิงหาคม 2557   ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30 - 12.20  กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ

การยกตัวอย่างจากภาพ   เช่น การตอกไข่ของเด็ก เด็กจะรู้ว่าไข่สามารถรู้ว่าไข่สามารถแตกได้หากมีการกระแทกและเมื่อไข่แตกแล้วจะเกิดอะไรขึ้นเด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้อีกว่าเมื่อไข่แตกแล้วจะมีของเหลวที่เราเรียกว่า ไข่ขาว ไข่แดง ไหลออกมา และการเล่นเครื่องเล่น เช่น เด็กเล่นครกกับสาก เด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้ว่าหากครกกับสากกระแทกกันแรงๆจะทำให้เกิดเสียง เป็นต้น , การเล่นตามมุม เด็กจะได้ทักษะในด้านต่างๆ เช่น บทบาทสมมติ การเลียนเเบบ การจำลอง เป็นต้น , การปลูกต้นไม้  เด็กจะเรียนรู้การเจริญเติบโตของต้นไม้รวมทั้งฝึกทักษะการดูแลรักษาต้นไม้ , การติดทองคำเปลว เด็กจะได้เรื่องของการคาดคะเน การกะระยะห่าง เป็นต้น

วิทยาศาสตร์    คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวทั้งวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรอบตัว  วิทยาศาสตร์จะต้องอาศัยเครื่องมือในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  คือ  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  และภาษาก็เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ  เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์จึงประกอบด้วยทักษะทางคณิตศาสตร์และทักษะทางภาษา

* การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมทั้งทางบวกและทางลบเพื่อการเอาตัวรอดให้อยู่ในสังคมปัจจุบันได้

การนำความรู้ไปประยุกตใช้    สามารถนำเอาเป็นเเนวทางในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองในสิ่งที่เด็กสนใจ กระตุ้นความคิดของเด็กโดยการใช้คำถามให้เด็กได้ฝึกการคิดจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่กล้าคิดกล้าเเสดงออก

ประเมินตนเอง       เข้าเรียนตรงเวลา  เเต่งกายเรียบร้อยตามข้อตกลง ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน        เพื่อนตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา อาจมีคุยกันบ้างระหว่างที่ครูสอน

ประเมินผู้สอน     เเต่งกายสุภาพเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง อารมณ์ดียิ้มแย้ม สอนให้ผู้เรียนเข้าใจโดยการยกตัวอย่างและใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้้เรียนฝึกการคิด





................................................