E-Portfolio Subject to the Science Experience Management for Early Childhood Semester 1/2557

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 12

                                                       บันทึกอนุทิน

         วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


        วันที่  4  พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103
     

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

       วันนี้เป็นการนำเสนอกิจกกรมเกี่ยวกับแผนที่ตนเองได้เตรียมมา โดยมีแผนการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 5 แผน  และเเต่ละแผนกิจกรรมก็มีความแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการสอนในแต่วัน

กลุ่มที่1 เรื่องข้าว(ทำซูชิ)


ขั้นนำ 

    คุณครูมีการร้องเพลงข้าว เพื่อให้เด็กๆหันมาสนใจในกิจกรรมที่คุณครูกำลังจะสอน  แล้วนำจิกซอว์มาวางไว้ตรงหน้าเด็ก จากนั้นให้เด็กๆนำจิกซอว์มาต่อเป็นรูป เมื่อเด็กต่อเสร็จก็มีการซักถามเด็กว่า เป็นรูปอะไร 

ขั้นสอน 

   ครูได้ใช้คำถาม ถามเด็กว่าวันนี้เราเรียนเรื่องอะไร  และครูก็อธิบายกิจกรรมที่จะเรียนในวันนี้ว่าครูจะสอนการทำซูชิ  และได้บอกว่าหน้าซูชิแต่ละหน้ามีอะไรบ้าง  แล้วถามว่าใครอยากทำซูชิบ้าง  และครูกับเด็กก็ร่วมกันทำซูชิ

ขั้นสรุป

ครูได้ถามเด็กๆว่าเด็กๆชอบซูชิหน้าอะไรกันมากที่สุด โดยมีการทำตาราง  โดยมีหน้าซูชิดังต่อไปนี้ 
หน้าไก่ทอด   หน้าหมูย่าง  หน้าหมูอบ 


กลุ่ม 2 กล้วย ( กล้วยหั่นทอด )



ขั้นนำ

     คุณครูได้สอนเด็กร้องเพลงกล้วยและทำท่าทางประกอบเพลงกล้วย  และมีการอธิบายเกี่ยวกับ   ลักษณะรูปทรงของกล้วย  และถามเด็กๆว่าใครเคยเห็นกล้วยบ้าง


ขั้นสอน 

    ครูได้นำอุปกรณ์การทำกล้วยทอดมาให้เด็กๆดู ครูให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  โดยการให้เด็กๆร่วมกันปอกกล้วย   และหลังจากนั้นครูสอนวิธีการทอดกล้วย 


ขั้นสรุป

     ครูซักถามว่าได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี้  และถามว่ากล้วยมีกี่ชนิด  อะไรบ้าง 


กลุ่มที่ 3 หน่วยกบ



กลุ่มที่ 4 หน่วยไข่



เทคนิคการสอน

    จากแผนการเรียนการสอนที่เพื่อนๆได้นำเสนอไปมีทั้งข้อผิดพลาดและข้อที่ถูกต้อง แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆในการสอน โดยอาจารย์พยายามอธิบายและพูดซ้ำๆในหัวข้อที่สำคัญเพื่อให้นักศึกษาจดจำและเกิดการเรียนรู้เข้าใจในการเขียนแผนการสอนและการสอนหน้าชั้นเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้

   สามารถนำหลักการสอนที่อาจารย์ได้สอนมาไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต การปรับปรุงแก้ไขตนเองในจุดบกพร่องเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นคุณครูปฐมวัยที่มีคุณภาพ


ประเมินตนเอง 

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียนแต่อาจจะไม่ตรงประเด็นแต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำให้ได้ไปปรับปรุงในการนำเสนอครั้งหน้า

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และมีความพร้อมในการออกมานำเสนองาน

ประเมินครูผู้สอน  

ครูสอนเข้าใจมีการย้ำรายละเอียดอยู่ตลอดเวลามีการเเนะนะำข้าบกพร่องต่างๆในเรื่องการเขียนเเผน ขั้นกิจกรรมต่่างๆรวมทั้งการนำเสนอแผนกิจกรรม อาจารย์มีการใช้คำถามที่สละสลวยเเละเข้าใจเป็นเเบบอย่างให้นัศึกษานำไปใช้   เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

                                                บันทึกอนุทิน


           วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


            วันที่  ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

    
วันนี้ได้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องของ น้ำ โดยอาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้เรียบร้อย

                              



กิจกรรมที่ 1 การทดลองกระดาษกับน้ำ
   

จากการทดลองสังเกตได้ว่า



      การที่นำกระดาษไปลอยน้ำทำให้กระดาษคลี่ขึ้นนั้นเนื่องจาก การที่น้ำซึมเข้าไปในกระดาษทำให้น้ำเข้าไปแทนที่ตรงที่ว่างของกระดาษ ทำให้กระดาษค่อยๆคลี่ออก สังเกตได้ว่า เริ่มจากการทดลองน้ำที่ใช้ในการทดลองเต็มกล่องเเก้วอยู่ แต่หลังจากการทดลองน้ำในตู้ค่อยๆลดลง เนื่องจากน้ำบางส่วนนั้นได้ซึมเข้าสู่กระดาษดอกไม่ที่นักศึกษาได้นำไปทดลองนั่นเอง


กิจกรรมที่ 2 การทดลอง ดินน้ำมันเเบบก้อนเเละแบบแผ่นกับน้ำ




จากการทดลองสังเกตได้ว่า

     ดินน้ำมันที่อาจารย์ให้นำมาปั้นเป็นรูปกลมๆกับรูปแบนๆ ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปกลมๆนั้นจะจมน้ำ แต่ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปแบนๆจะลอยน้ำบางอันเท่านั้น ชิ้นที่ลอยน้ำนั้นจะปั้นเป็นรูปแบนๆแล้วมีขอบจะไม่จม แต่ชิ้นที่ปั้นเป็นรูปแบนกว้างเลยจะจมน้ำ  สาเหตุที่ดินน้ำมันจมน้ำเพราะดินน้ำมันมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ


กิจกรรมที่ 3 การทดลองปล่อยน้ำผ่านสายยาง


จากการทดลองสังเกตได้ว่า 
    
    หากเรานำขวดน้ำกับสายยางให้อยู่ในระดับเดียวกันน้ำจะไหลช้าและอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ถ้าหากเราวางขวดน้ำไว้สูงกว่าระดับสายยางน้ำก็จะไหลเร็วและพุ่งสูงขึ้น เพราะยิ่งน้ำวางอยู่สูงแรงดันก็จะยิ่งมาก


กิจกรรมที่ 4 การทดลอง ปากกากับน้ำ


จากการทดลองสังเกตได้ว่า
    
      ปากกาที่อยู่ในน้ำจะขยายมากขึ้น ส่วนนที่ไม่อยู่ในน้ำจะมีขนาดเท่าเดิมและปากกาจะมีหักเหระหว่างผิวน้ำ

ประเมินตนเอง
      วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไม่สบาย ไม่สามารถไปเรียนได้ แต่ดิฉันได้ฝากบอกเพื่อนๆแล้วว่าดิฉันลาป่วย

ประเมินเพื่อน
      -

ประเมินผู้สอน

     -




                                   


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


                                                บันทึกอนุทิน


       วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


        วันที่ 21 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


      เริ่มต้นการเรียนโดยการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นได้ให้นักศึกษารวมกลุ่มกันช่วยกันคิดแผนกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มของดิฉันคิดเป็น หน่วย มด ซึ่งดิฉันมองว่า มดเป็นสัตว์ที่อยู่รอบๆตัวเด็ก ทั่วทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน โรงเรียน สวนสาธารณะ และสถานที่ต่างๆมากมาย เเละมดเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยอาจารย์ให้ส่งเเผนการจัดประสบการณ์อาทิตย์หน้า



เทคนิคการสอน

     วันนี้อาจารย์ใช้คำถามในการเปิดทางให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิดกัน และตกลงร่วมกันว่าเราจะเขียนเเผนกิจกรรมในเเต่ละวันเป็นเรื่องอะไรบ้าง และถ้าเราอยากมีของเล่นที่เข้ามุมได้เราควรทำเป็นของเล่นเเบบใด ทำให้เห็นภาพมากขึ้นถ้าผู้เรียนคิดตามที่อาจารย์เเนะนำมา

การประเมินตนเอง 
     
       ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย

การประเมินเพื่อน

       เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย เเละมีการใช้โอกาสในการเก้ตัวที่อาจารย์ได้มอบให้ไป







บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9


                                                บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


          วันที่ 14 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


          วันนี้ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยของเล่นของดิฉัน คือ จรวดจากแกนทิชชู  โดยเป็นการจำลองสิ่งไกลตัวเด็กมาสร้างเป็นโมเดลจำลองให้เด็กรู้จักการสังเกต ส่วนประกอบต่างๆของจรวดและเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะของจรวด



จรวดจากแกนทิชชู


อุปกรณ์
   แกนทิชชู
   กระดาษลัง
   กาว
   กรรไกร
   สีอะครีลิคสำหรับตกแต่ง

วิธีทำส่วนหัว
• ตัดแกนทิชชู่ เป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากขอบนอกเข้ามาด้านในลึกประมาณ 2.5” (รูปที่ 1-2)
• รวบแต่ละชิ้นเข้าหากัน โดยจับเรียงซ้อนไปในทางเดียวกัน (รูปที่ 3)
• ใช้มือรวบจนแน่นให้เป็นโคนแหลมเหมือนหัวจรวด (รูปที่ 4)
• คลายออก แล้วทากาวติดแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน (รูปที่ 5)
• จะได้เป็นโคนแหลมอย่างนี้ (รูปที่ 6)


วิธีทำส่วนฐาน
• ตัดกระดาษลังเป็นสี่เหลื่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 2”x 4” = 2 ชิ้น
• วางซ้อนกันแล้วตัดบากเข้ามาตรงกลาง (รูปที่ 1-2)
• จากรูปที่ 2 เอาส่วนที่เราบากไว้ สอดเข้าหากัน แล้วตัดแต่งรูปทรงของปีก (รูปที่ 3)
• วัดความสูงของฐาน (รูปที่ 4)
• ตัดแกนทิชชู่ เป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากขอบนอกเข้ามาด้านในลึกเท่ากับความสูงของฐาน (รูปที่ 5-6)
• ประกอบฐานเข้ากับจรวด (รูปที่ 7-8)
• ติดท่อไอพ่น – ตัดแกนทิชชู่เล็ก ขนาดประมาณ 2”x 2” ม้วนเป็นทรงกระบอก ทากาว (รูปที่ 9)
• ทากาวที่ช่องใต้จรวด (รูปที่ 10) ติดท่อเข้าไป (รูปที่ 11) ทั้ง 4 ช่อง (รูปที่ 12)


ระบายสีตกแต่ง
ใช้สีอะครีลิคนะคะ อย่างที่เคยบอก สีอะครีลิคมันจะติดแน่น ติดทน ไม่เลอะมือเวลาเอามาเล่น แถมยังเงาสวยอีกด้วยค่ะ





ภาพสำเร็จ


รวมของเล่นของเพื่อนๆ


เทคนิคการสอน
         อาจารย์จะใช้คำถามกับนักศึกษาเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทำความเข้าใจในของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์มา เช่น ถ้าของเล่นเป็นเรือดำน้ำจากหลอดกาเเฟ จะใช้คำถามกระคุ้นว่า ทำไมเรือดำน้ำจากหลอดกาแฟ เวลาบีบขวดน้ำมันจึงจมลง เวลาเราปล่อยทำไมดินน้ำมันจึงลอยขึ้น เป็นเพราะอะไร การใช้คำถามเเบบนี้จะทำให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์จากของเล่นของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจไปด้วยว่าเป็นเพราะอะไร คำตอบที่นักศึกษาตอบไปอาจารย์บอกว่าไม่มีถูกไม่มีผิด หากคำตอบไหนไม่ใช่ประเด็นสำคัญอาจารย์เป็นผู้เเนะนำเเละอธิบายให้เข้าใจในที่สุด

  • ศัพท์วิทยาศาสตร์น่ารู้
                      มุม --> angle
                      มุมหักเห --> angle of refraction
                      พลังงาน --> energy
                      การลอยตัว --> inflation
                      โมเดลจำลอง --> model


ประเมินตนเอง

        ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอของเล่นของตนเองเเละตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นๆนำเสนอของเล่นของตน

ประเมินเพื่อน 
    
       เพื่อนๆมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอบ้างบางคน โดยบางคนไม่ได้นำมาหรือยังไม่ได้ทำ แต่ส่วนใหญ่เเล้วมีการเตรียมความพร้อมมาดี

ประเมินผู้สอน

       เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมความพร้อมเเละแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นขณะนั้น


วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

                                                บันทึกอนุทิน


           วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


            วันที่ 7 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103




             ***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย***






บันทึกอนุทิน  ครั้งที่ 7


                                                       บันทึกอนุทิน


         วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


         วันที่ 30 กันยายน 2557  ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103



ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


   กิจกรรมวันนี้

  
1. การประดิษฐ์กังหันหมุน


อุปกรณ์
1. กระดาษ
2. กรรไกร
3. คลิปหนีบกระดาษ

  

วิธีทำ
  1. ตัดกระดาษมีความยาวและความกว้างให้พอประมาณ
  2. พับกระดาษแบ่งครึ่ง เเล้วตัดกระดาษตามรอยพับตรงกลาง
  3. พับอีกด้านหนึ่งเข้ามาสักประมาณ 1 เซนติเมตรแล้วนำคลิปกระดาษมาหนีบ


การทดลอง
     โยนกระดาษในลักษณะต่างๆที่อยากจะโยนแล้วสังเกตการตกลงสู่พื้นของกระดาษ
ผลการทดลอง
      จากการทดลองพบว่า กระดาษจะตกสู่พื้นในลักษณะที่ต่างกัน โดยมีสาเหตุดังนี้
  • ลักษณะการโยน
  • การออกแรงโยน
  • การตัดกระดาษที่เเตกต่างกัน
  • การพับปลายของกระดาษแตกต่างกัน
  • สภาพอากาศขณะโยน
2. การประดิษฐ์แกนทิชชู


อุปกรณ์
  • แกนทิชชู
  • ไหมพรม
  • กระดาษ
  • สี
  • กาว
  • ที่เจาะรู (ตุ๊ดตู่)
วิธีการทำ
  1. ตัดแกนทิชชูครึ่งหนึ่งแล้วบีบแกนทิชชูเพื่อทำการเจาะรูตรงกลางกระดาษทั้งสองฝั่ง
  2. นำไหมพรมมาร้อยตรงรูที่เจาะไว้ ทำการมัดให้เน่น
  3. ตัดกระดาษเป็นวงกลม แล้ววาดรูปตกแต่งตามความชอบ
  4. นำมาติดกาเเละนำไปติดกับแกนทิชชู
การทดลอง
     อาจารย์ได้ให้คิดหาวิธีการเล่นว่าจะทำอย่างไรให้แกนทิชชูเคลื่อนที่ ทำให้เด็กได้คิดการแก้ปัญหาว่าเด็กจะทำอย่างไรให้เเกนทิชชูเคลื่อนขึ้นบนหรือเคลื่อนลงล่าง

บทความวันนี้
เทคนิคการสอน
     ได้ให้ผู้เรียนใช้ความคิดในการเเก้ปัญหา คิดได้เองอย่างอิสระในการทดลองและลงมือทำด้วยตนเองในส่วนนี้เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้คิดในการทดลองเเละคิดแก้ปัญหา เด้กจะค้นพบจากการทดลองสิ่งๆต่างได้ด้วยตนเอง


ประเมินตนเอง   เข้าเรียนก่อนเวลา  แต่งกายสุภาพ  ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน    วันนี้เพื่อนเเต่งกายเรียบร้อย เเต่บางคนเข้าเรียนสาย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

ประเมินผู้สอน   ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมในการสอน เตรียมอุปกรณ์ต่างๆมาพร้อม มีเทคนิคในการสอนที่ให้ลงมือทำด้วยตนเองและค้นพบคำตอบด้วยตนเองผู้สอนเพียงใช้คำถามในการกระตุ้น










วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


                                         บันทึกอนุทิน


           วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


            วันที่ 23 กันยายน 2557  ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


    ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน เรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลายๆด้านตามที่ผู้เรียนมีความชอบและความสนใจในการเรียนวิชาต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด ความรู้ ความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก 


อ้างอิง >> ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัด

                กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพพิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
                มหาวิทยาลัย
.


กิจกรรมในห้อง
อาจารย์แจกกระดาษแล้วให้นักศึกษาพับครึ่งจากนั้นวาดสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันลงไป

อุปกรณ์
  • กระดาษแข็ง
  • กรรไกร
  • กาวหรือเทปใส
  • สี
  • ไม้เสียบลูกชิ้น
วิธีทำ
  1. พับกระดาษครึ่งหนึ่ง
  2. วาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันลงไปในกระดาษ เช่น พระจันทร์กับดวงดาว , ดินสอกับสมุด , พระอาทิตย์กับเมฆ 
  3. ตกแต่งตามความชอบให้สวยงาม
  4. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาทากาวแล้วแปะติดไว้ด้านในของกระดาษที่พับไว้
  5. ทากาวปิดรอยเหลี่ยมกระดาษให้เเนบติดกันทุกด้าน
วิธีเล่น
    เล่นโดยการหมุนด้ามไม้ลูกชิ้นด้วยความเร็วพอเหมาะ เราจะเห็นได้ว่าภาพทั้งสองที่เราวาดเวลาหมุนจะมีความสัมพันธ์กัน รูปอยู่ใกล้เคียงกันเหมือนทับกันอยู่ 



จากนั้นอาจารย์ได้นำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ลองเล่นดูซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง "แสง"



กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

   2. กิจกรรมสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตาม ความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3. กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการ เล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณ กลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

6. กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

* เกมการศึกษา
1. เกมจับคู่
  - จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
  - จับคู่ภาพเงา
 - จับคู่ภาพสัมพันธ์
  - จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
  - จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ
จากนั้นเป็นการนำเสนอบทความ
1. สอนลูกเรื่องพืช  
2. เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย
3. เเนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
4. การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนูๆ

แผ่นชาร์จงานกลุ่มของเเต่ละกลุ่ม   >>>



ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย


ประเมินตนเอง      ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลามีคุยกับเพื่อนบ้าง
ประเมินเพื่อน        ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย มีคุยกันบ้าง
ประเมินผุ้สอน    สอนโดยการให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้สื่อต่างๆเข้ามาช่วยสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นมีการสรุปบทความของเพื่อนๆให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น