E-Portfolio Subject to the Science Experience Management for Early Childhood Semester 1/2557

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


                                         บันทึกอนุทิน


           วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


            วันที่ 23 กันยายน 2557  ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. กลุ่ม 103


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


    ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน เรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลายๆด้านตามที่ผู้เรียนมีความชอบและความสนใจในการเรียนวิชาต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด ความรู้ ความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก 


อ้างอิง >> ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัด

                กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพพิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
                มหาวิทยาลัย
.


กิจกรรมในห้อง
อาจารย์แจกกระดาษแล้วให้นักศึกษาพับครึ่งจากนั้นวาดสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันลงไป

อุปกรณ์
  • กระดาษแข็ง
  • กรรไกร
  • กาวหรือเทปใส
  • สี
  • ไม้เสียบลูกชิ้น
วิธีทำ
  1. พับกระดาษครึ่งหนึ่ง
  2. วาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันลงไปในกระดาษ เช่น พระจันทร์กับดวงดาว , ดินสอกับสมุด , พระอาทิตย์กับเมฆ 
  3. ตกแต่งตามความชอบให้สวยงาม
  4. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาทากาวแล้วแปะติดไว้ด้านในของกระดาษที่พับไว้
  5. ทากาวปิดรอยเหลี่ยมกระดาษให้เเนบติดกันทุกด้าน
วิธีเล่น
    เล่นโดยการหมุนด้ามไม้ลูกชิ้นด้วยความเร็วพอเหมาะ เราจะเห็นได้ว่าภาพทั้งสองที่เราวาดเวลาหมุนจะมีความสัมพันธ์กัน รูปอยู่ใกล้เคียงกันเหมือนทับกันอยู่ 



จากนั้นอาจารย์ได้นำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ลองเล่นดูซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง "แสง"



กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

   2. กิจกรรมสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตาม ความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3. กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการ เล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณ กลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

6. กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

* เกมการศึกษา
1. เกมจับคู่
  - จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
  - จับคู่ภาพเงา
 - จับคู่ภาพสัมพันธ์
  - จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
  - จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ
จากนั้นเป็นการนำเสนอบทความ
1. สอนลูกเรื่องพืช  
2. เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย
3. เเนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
4. การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนูๆ

แผ่นชาร์จงานกลุ่มของเเต่ละกลุ่ม   >>>



ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย


ประเมินตนเอง      ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลามีคุยกับเพื่อนบ้าง
ประเมินเพื่อน        ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย มีคุยกันบ้าง
ประเมินผุ้สอน    สอนโดยการให้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้สื่อต่างๆเข้ามาช่วยสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นมีการสรุปบทความของเพื่อนๆให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5



                                        บันทึกอนุทิน

          วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                           
                         อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

          วันที่ 16 กันยายน 2557   ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20น. กลุ่ม 103

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

แสง
แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย

         ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที

จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสง ได้ดังนี้
วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
วัตถุทึบแสง คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย

สมบัติพื้นฐานของแสง ได้แก่
ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้

คุณสมบัติของแสง

         แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation) , การหักเห (Refraction) , การสะท้อน (Reflection) และการกระจาย (Dispersion)

1. การเดินทางแสงเป็นเส้นตรง
         ในตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเห (Refractive index) ของแสงเท่ากันแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง

2. การสะท้อน
         การสะท้อนของแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

         »  การสะท้อนแบบปกติ (Regular reflection) จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุที่มีผิวเรียบมันวาวดังรูป


         »  การสะท้อนแบบกระจาย (Diffuse reflection)   จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่มีผิวขรุขระดังรูป


โดยการสะท้อนของแสงไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตามจะต้องเป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสงที่ว่า "มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ"

3. การหักเห
         การหักเหของแสงจะเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเหไม่เท่ากัน   โดยลำแสงที่ตกกระทบจะต้องไม่ทำมุมฉากกับรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้งสองและมุมตกกระทบต้องมีค่าไม่เกินมุมวิกฤต

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน   เช้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย คุยบ้าง

ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการใช้วิธีการสอนใหม่ๆเข้ามากระตุ้นผู้เรียน สำหรับวันนี้ผู้สอนใช้การยกเหตุการณ์ขึ้นมาเป็นตัววอย่างให้ผู้เรียนได้สัมผัสโดยตรง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ